ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักนาฬิกายี่ห้อ Omega
เบื้องหลังความสำเร็จก็คือ คุณภาพที่เชื่อถือได้ของนาฬิกา Omega ทุกเรือน
Omega ถือกำเนิดในปี 1848 ที่ La Chaux-de-Fonds โดยนักประดิษฐ์หนุ่มอายุเพียง 23 ปี ชื่อ Louis Brandt. โดย Louis Brandt ได้ประกอบนาฬิกาพกซึ่งใช้ชิ้นส่วนของนักประดิษฐ์ในท้องถิ่นและผลงานของเขาได้ค่อยๆสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก.
Louis Brandt ได้จากไปในปี 1879 โดยมีบุตรชาย 2 คน คือ Louis Paul และ César Brandt เป็นผู้รับช่วงกิจการ และได้ย้ายบริษัทไปที่ Bienne ในดือนมกราคม 1880 เนื่องจากความพร้อมมากกว่าในด้านกำลังคน การติดต่อสื่อสาร และพลังงาน โดยเริ่มแรกย้ายไปโรงงานเล็กๆในเดือนมกราคม และได้ซื้อตึกทั้งหลังในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน.
2 ปีต่อมาได้ย้ายไปที่ Gurzelen district of Bienne ซึ่งสำนักงานใหญ่ยังคงตั้งอยู่ที่นี่ถึงปัจจุบัน.
ทั้ง Louis-Paul และ César Brandt ได้ตายพร้อมกันในปี 1903 ได้ทิ้งบริษัทผู้ผลิตนาฬิกาสวิสที่ใหญ่ที่สุด ด้วยยอดกำลังการผลิตนาฬิกา 240,000 เรือนต่อปี และพนักงาน 800 คน ไว้ในการบริหารของกลุ่มคนหนุ่ม 4 คน ซึ่งผู้ที่อาวุโสที่สุดก็คือ Paul-Emile Brandt มีอายุเพียง 23 ปี
ด้วยความยากลำบากอันเกิดขึ้นเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 OMEGA ได้ตัดสินใจรวมกิจการกับ Tissot ตั้งแต่ 1925 จนถึง 1930 ภายใต้ชื่อ SSIH.
ในช่วงทศวรรษ 70 SSIH ได้กลายเป็น ผู้ผลิตนาฬิกาสวิสอันดับหนึ่งและเป็นอันดับ 3 ของโลก.จนกระทั่งช่วงวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในระหว่าง 1975 ถึง 1980,SSIH ได้ถูกซื้อกิจการ โดยแบงก์ในปี 1981. ในปี 1985 ธุรกิจได้ถูกควบกิจการโดยกลุ่มนักธุรกิจเอกชนกลุ่มหนึ่งภายใต้การบริหารของ Nicolas Hayek และได้เปลี่ยนชื่อเป็น SMH , Societe suisse de microelectronique et d’horlogerie,
กลุ่มใหม่นี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และเติบโตเป็นผู้ผลิตแนวหน้าของโลก.
ในปี 1998 ชื่อของ Swatch Group ได้ถูกเรียกขาน และได้รวมเอา Blancpain และ Breguet เข้ามาร่วมด้วย และแน่นอนชื่อของ OMEGA ก็ยังคงเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่สร้างชื่อเสียงที่สุดและเป็นแบรนด์สำคัญของกลุ่ม
First watch on the moon
รุ่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Omega ก็คือ Omega Speedmaster โดยรุ่นแรกที่ผลิตออกมาคือรุ่น CK2915 ในปี 1957 และได้ผลิต speedmaster ออกมาเรื่อยๆจนถึงวันหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษ 60 ในเวลานั้น NASA กำลังดำเนินโครงการอวกาศ MERCURY และก็กำลังจะเริ่มต้นโครงการ GEMINI หรือการส่งคนหนึ่งคู่ ออกไปโคจรรอบโลกซึ่งโครงการ Mercury ที่ NASA กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นการปฏิบัติภารกิจภายในยาน โดยนักบินถูกส่งไปโคจรรอบโลก ส่วน ภารกิจ Gemini นั้น จะมีการส่งคนออกไปนอกยานเพื่อลอยไปลอยมา และทำการทดลองต่างๆ ดังนั้น NASA จึงเกิดความต้องการที่จะจัดหานาฬิกาเพื่อใช้ในโครงการอวกาศต่างๆต่อไป โดยนาฬิกาที่ว่าจะต้องมีระบบจับเวลาเพื่อถูกใช้สำรองในกรณีที่ระบบเวลาหลักล้มเหลว นาฬิกาที่ว่าจะต้องทนต่อทุกสภาวะ ทั้งความกดดันอากาศ สภาพสุญญากาศ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจากติดลบไปเป็นร้อยองศาเพียงเคลื่อนข้ามจากใต้เงาไปสู่แสงแดด
ดังนั้นในปี 1962 NASA จึงได้ส่งพนักงานจัดซื้อของตนออกไปหาซื้อนาฬิกาจับเวลามาอย่างละเรือนสองเรือนเพื่อใช้ในการทดสอบแบบไม่เป็นทางการ การจัดหาก็ทำอย่างง่ายๆ คือให้เจ้าหน้าที่ของตนไปที่ร้านขายนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุดในเมืองที่สำนักงานใหญ่ของตนตั้งอยู่ก็คือ Houstan รัฐ Texas ห้างดังกล่าวชื่อ Corrigan ซึ่งในปัจจุบันร้านนี้ก็ยังคงเป็นตัวแทนจำหน่ายของ Omega อยู่ หลังจากซื้อมาแล้ว Nasa ก็ได้วิเคราะห์นาฬิกาต่างๆและนำมาลองใช้ในโครงการ Mercury จนได้ไอเดียคร่าวๆแล้ว ในปี 1964 Nasa จึงกำหนดข้อต้องการในการจัดซื้อนาฬิกาต่างๆมาทดสอบเพื่อทำการใช้ในโครงการอวกาศ Gemini และ Apollo ใบขอสั่งซื้อได้ถูกส่งไปยังบริษัทต่างๆเช่น Elgin, Benrus, Hamilton, Mido, Luchin Picard, Omega, Bulova, Rolex, Lonngines, Gruen โดยมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
1. ให้ส่งมอบไม่เกินวันที่ 21/10/1964
2. ต้องเดินผิดพลาดไม่เกิน 5 วินาทีต่อ 24 ชั้วโมง จะยิ่งดีถ้าเดินผิดพลาดไม่เกิน 2 วินาทีต่อวัน
3. ต้องกันแรงดันได้ตั้งแต่ แรงดันน้ำที่ 50 ฟุต จนถึงสุญญากาศที่ 10^ -5 มม ปรอท
4. หน้าปัดต้องอ่านง่ายในทุกสภาวะ โดยเฉพาะภายใต้แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นสีแดงหรือขาว อย่างต่ำๆต้องมองเห็นภายใต้แสงเทียนที่ระยะ 5 ฟุต ในสภาวะแสงจ้าหน้าปัดไม่ควรไม่มีแสงสะท้อน ถ้าจะให้ยิ่งดีหน้าปัดควรมีสีดำ
5. หน้าปัดต้องแสดง วินาที 60 วินาที วงนาที 30 นาที และวงชั่วโมง 12 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
6. นาฬิกาต้องกันน้ำ กันกระแทก กันแม่เหล็ก กระจกหน้าปัดต้องต้องไม่คมและไม่กระจายเป็นเศษๆเวลาแตก
7. นาฬิกาที่จัดหาจะเป็นไขลาน ออโต หรือใช้ระบบไฟฟ้าก็ได้ แต่ต้องเอามือหมุนขึ้นลานได้
8. นาฬิกานี้บริษัทที่จำหน่ายต้องมีรับประกันเป็นเวลาอย่างต่ำ 1 ปี
จากสเป็คจะเห็นได้ว่า Nasa อาจได้ลองใช้นาฬิกาหลายๆยี่ห้อแล้วติดใจใน Omega เพราะเสป็คที่ออกมาเข้ากับOmega ทุกอย่าง ในขณะนั้นยังไม่มีนาฬิกาจับเวลาแบบ auto หรือใช้ไฟฟ้าออกมา และบางบริษัทก็ได้ปฎิเสธที่จะส่งนาฬิกาให้เนื่องจากว่าตนไม่ได้ผลิตนาฬิกาที่ตรงกับข้อกำหนดดังกล่าว การทดสอบที่ Nasa จัดขึ้นมาก็แบ่งเป็นชุดๆ หลายๆขั้นตอน พอสิ้นสุดการทดสอบแต่ละครั้ง นาฬิกาแต่ละเรือนก็จะถูกเช็คอย่างละเอียด ถ้าเดินไม่ตรงมากๆ ไขลานไม่ได้ จับเวลาไม่ได้ น้ำเข้า หรือชิ้นส่วนพัง ก็จะถูกคัดออกจากการทดสอบ
การทดสอบหฤโหด ได้แบ่งเป็นช่วงๆดังนี้ ระหว่างการทดสอบในแต่ละช่วง นาฬิกาก็จะถูกตรวจว่ายังทำงานปกติหรือไม่
1. เข้าห้องอบที่อุณหภูมิ 71 ๐C 48 ชั่วโมง แล้วต่อด้วย 93 ๐C 30 นาที ปรับความดันไว้ที่ 0.35 ATM ความชื้น 15%
2. อุณหภูมิ -18 ๐C 4 ชั่วโมง
3. ที่สุญญากาศ 10^ -6 ATM เข้าห้องอบลดอุณหภูมิจาก 71 ๐C ลงมาที่ -18 ๐C ในเวลา 45 นาที และเพิ่มกลับไปที่ 71 ๐C ในอีก 45 นาที ทำแบบนี้วนไปวนมา 15 รอบ
4. เข้าตู้อบความชื้นสูง 95% เป็นเวลา 240 ชั่วโมง อุณหภูมิในห้องทดสอบเปลี่ยนไปมาระหว่าง 20 – 71C ไอน้ำไม่เป็น กรดหรือด่าง
5. เข้าห้องอบ Oxygen 100% ที่แรงดัน 0.55 ATM เป็นเวลา 48 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 71 C ถ้ามีรอยใหม้ เกิดแก๊สพิษลอยออกมา หรือยางเสื่อมสภาพถือว่าสอบไม่ผ่าน
6. โดนแรงเหวี่ยง 40G (ความเร่ง) ครั้งละ 11 Millisecond หกทิศทาง (คล้ายๆกับเหวี่ยงนาฬิกาแรงๆมากๆ เร็วมากๆ)
7. ความเร่งจาก 1G ไป 7.25G ในเวลา 333 วินาที (ลักษณะคล้ายๆยิงจรวดขึ้นฟ้า)
8. เข้าห้องสุญญากาศแรงดัน 10^ -6 ATM อีก 90 นาทีที่ 71 ๐C และอีก 30 นาทีที่ 93 ๐C
9. แรงดันอากาศสูง 1.6 ATM เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
10. เข้าเครื่องเขย่า 30 นาที ที่ความถี่เปลี่ยนไปมาระหว่าง 5 – 2000 รอบต่อวินาที และที่ 5 รอบต่อวินาทีต่ออีก 15 วินาที แรงเขย่าอย่างต่ำๆ 8.8 G (เหมือนเขย่าแรงๆช้ามั่ง เร็วมั่ง)
11. โดนยิงคลื่นเสียงที่ดัง 130 dB เป็นเวลา 30 นาที โดยใช้เสียงทุกช่วงความถี่ที่คนได้ยิน
หลังการทดสอบ Rolex หยุดเดินสองครั้ง 1 และเข็มงอพันเข้าหากันในตู้อบความร้อน เลยถูกคัดออกจากการทดสอบ ส่วน Longines นั้นกระจกหลุดร่วงออกจากตัวเรือน เปลี่ยนตัวใหม่เข้า test ต่อก็ยังร่วงอีกเลยสอบตกไปตามๆกัน ที่เหลือรอดมาได้คือ Omega Speedmaster ซึ่งหลังจากผ่านการทดสอบแล้ว สูญเสียความเที่ยงตรงในการทดสอบความเร่งและทดสอบสูญญากาศ พรายน้ำที่หน้าปัดมีรอยไหม้แต่อย่างอื่นปกติ ซึ่งเป็นที่พอยอมรับกันได้ Omega จึงผ่านการทดสอบและได้รับการบรรจุให้เป็น อุปกรณ์หลักในโครงการอวกาศ Gemini และ Apollo โดยเริ่มจากโครงการ Gemini 3
ต่อมาปี 1965 Mission Gemini 4 Edward White ก็ได้ใช้ Omega Speedmaster ในการจับเวลาการลอยไปลอยมาในอวกาศ (Space walk) ของตน
ดังนั้นในปี 1966 Omega จึงได้เพิ่มคำว่า PROFESSIONAL ต่อท้ายคำว่า Speedmaster บนหน้าปัดเพื่อเฉลิมฉลองการยอมรับจาก Nasa ให้ใช้ในโครงการอวกาศของตน
ต่อมา มีแรงกดดันจากทำเนียบขาว เนื่องจากทางผู้ผลิตนาฬิกาอเมริกันไม่พอใจที่มีการใช้นาฬิกาสวิสในโครงการอวกาศของอเมริกัน และโครงการส่งคนไปบนดวงจันทร์ ทาง Nasa จึงได้มีการตอบกลับไปพร้อมผลทดสอบว่าได้ทำการทดสอบแล้วพบว่า นาฬิกาที่ผลิตในประเทศไม่ผ่านการทดสอบนี้
และแล้วในปี 1969 มนุษย์กลุ่มแรกก็ถูกส่งไปยังดวงจันทร์พร้อมด้วย Omega Speedmaster ภายใต้ภารกิจที่ชื่อ Apollo 11 ภารกิจนี้มีนักบินด้วยกันสามคนคือ Buzz Aldlin, Niel ArmStrong และ Michael Collins โดยสองคนแรกลงไปใน Lunar Module เพื่อร่อนลงบนดวงจันทร์ ส่วน Michael Collins ต้องอยู่บนยานแม่ซึ่งโคจรอยู่เหนือดวงจันทร์ ก่อนการแยกยาน นาฬิกาหลักบนยานแม่เกิดขัดข้อง Niel Armstrong จึงต้องทิ้งนาฬิกาของตนไว้บนยานแม่เพื่อใช้สำรองแทนเครื่องที่พัง ดังนั้นคนที่ใส่นาฬิกาลงไปบนดวงจันทร์คนแรกไม่ใช่ Niel Armstrong แต่เป็น Buzz Aldlin นาฬิกาเรือนถูกใช้จับเวลาที่นักบินทั้งสองปฎิบัติการอยู่ภายนอกยานบนดวงจันทร์ นี่เป็นที่มาของตำนาน The First Watch worn on the moon น่าเสียดายอย่างยิ่งตรงที่ว่าเมื่อ Buzz Aldlin กลับมาถึงโลกแล้ว ทรัพย์สินเครื่องใช้ต่างๆต่างก็ถูกขโมย หายไปรวมทั้งนาฬิกา Omega Speedmaster เรือนแรกที่มนุษย์โลกสวมบนดวงจันทร์ด้วย ปีต่อมา Mission Apollo 13 Omega Speedmaster Professional ก็ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญอีกครั้งใน Mission Apollo 13 ซึ่ง Nasa ได้ทำการส่งคนไปลงดวงจันทร์อีก ระหว่างทางถัง oxygen ของยานได้เกิดระเบิดขึ้นมาทำให้สูญเสียแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในยานทั้งหมด นักบินต้องเอาชีวิตรอดโดยการนำยานเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์และใช้แรงเหวี่ยงของดวงจันทร์ผลักให้ยานพุ่งกลับสู่โลก การทำงานทำได้โดยติดขัดเพราะมีไฟฟ้าเพียงแค่พอหล่อเลี้ยงอุปกรณ์สื่อสารเท่านั้น เครื่องมือจับเวลาไฟฟ้าประจำยานล้มเหลวทั้งหมด ดังนั้นนักบินจึงต้องใช้นาฬิกา Speedmaster จับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องสร้างแรงขับดัน เพื่อบังคับทิศทางยานให้พุ่งกลับสู่โลก ใครเป็นเจ้าของ Speedmaster และได้ดูหนัง เรื่อง Apollo 13 จะภูมิใจกับนาฬิกาของตนมาก เพราะมีฉากหนึ่งที่ผู้การ Jim Lowell ได้ใช้นาฬิกา Speedmaster จับเวลาอย่างชัดเจน
ปี 1975 มีโครงการอวกาศร่วมระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตในการนำยาน Apllo เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ Soyuz ของโซเวียต มีการจับมือกลางอวกาศ และเซ็นเอกสารเป็นที่ระลึก นักบินชาวอเมริกันและรัสเซียต่างก็ประหลาดใจเมื่อพบว่าทั้งสองฝ่ายใช้นาฬิกาเหมือนๆกันคือ Omega Speedmaster นั่นเอง แสดงว่า Omega รุ่นนี้เป็นที่ยอมรับกันทั้งสองค่าย ส่วนนักบินรัสเซียอีกคนที่ชื่อ Alexandr Polishchuk ก็เลือกใช้ Omega เช่นกันแต่เป็นรุ่น Flight Master ซึ่งเป็นนาฬิกาลูกพี่ลูกน้องของ Speedmaster
ต่อมาช่วงต่อระหว่างโครงการ Apollo และโครงการ Space Shuttle ได้มีการจัดหานาฬิกาที่จะนำมาใช้ โดยมีการทดสอบแบบเดิม ครั้งนี้มีแรงผลักดันจากรัฐบาลให้นาฬิกาในประเทศอย่าง Bulova ได้เข้าทดสอบด้วย แต่ในที่สุดผู้ที่ชนะในการทดสอบครั้งนี้ก็ยังเป็น Omega Speedmaster Professional เช่นเดิม แต่ในครั้งนี้สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ Omega ได้ใช้เครื่องรุ่นใหม่ Caliber 861 (Based on lemania 1863) เนื่องจากผู้ผลิตเดิมเลิกทำการผลิตเครื่องรุ่น 3210 แล้ว ช่วงหลังๆภารกิจ Space Shuttle ได้มีการปรับบรรยากาศภายในยานให้คนอยู่ได้โดยไม่ต้องสวมชุดอวกาศ และมีการค้นคิดนาฬิกาแบบ Quartz และ computer แบบติดข้อมือซึ่งมีความเสถียรมากขึ้นๆ ทำให้ให้บทบาทของนาฬิกาแบบ Mechanic ลดน้อยถอยลงไป Omega Speedmaster จึงค่อยๆกลายเป็นอุปกรณ์เพื่อ Back up แต่ชื่อเสียงและความยิ่งยงในอดีตก็ยังคงไม่ลืมเลือน มีนักบินอวกาศหลายคนที่ยังเลือกใช้ Omega Speedmaster ในชีวิตประจำวันของตน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงภารกิจนอกโลกที่ตนเคยมีส่วนร่วมนั่นเอง