ประวัตินาฬิกา Vacheron Constantin

Vacheron-Constantin-logo-old

“ทำให้ดีขึ้นถ้าเป็นไปได้ และมันก็เป็นไปได้ซะทุกที” (Do better if possiblend it is always possible) เป็นเหมือนปรัชญาที่สืบทอดจิตวิญญาณของช่างทำนาฬิกา ในการประดิษฐ์นาฬิกาคุณภาพเลิศจากรุ่นสู่รุ่น จากอดีตสู่ปัจจุบัน ‘วาเชอรอง คอนสแตนติน’ (Vacheron Constantin) จิตวิญญาณนิรันดร์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง
ในปี 1755 ปีทองส่องประกายสว่างไสว เป็นปีที่นักประดิษฐ์เครื่องบอกเวลาระดับปรมาจารย์ ฌอง มาร์ค วาเชอรอง ซึ่งถือเป็นบุคคลแห่งประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของวงการนาฬิกาให้กำเนิดแบรนด์ Vacheron ขึ้น และยืนหยัดยาวนานที่สุดในโลกของเรือนบอกเวลามาจนถึงปัจจุบัน
Vacheron Constantin ‘Saint Gervais’

Vacheron_Constantin_14_Day_Tourbillon_Collection_Excellence_Platine-1

ในปี 1819 การพบกันของสองผู้ยิ่งใหญ่ในโลกแห่งเรือนบอกเวลาสวิตเซอร์แลนด์ – ฌาค บาเธอเลมี คอนสแตนติน (Jaques-Barthelemy Constantin) และ Jean-Marc Vacheron พลังมหาศาลของทั้งคู่ร่วมกันผลักดันและพัฒนาจนแบรนด์ดังแบรนด์นี้สามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำด้านเทคนิคแห่งวิทยาการนาฬิกาโลกได้สำเร็จ

หลักพื้นฐาน 3 ประการที่ทำให้ Vacheron Constantin สามารถครองความยิ่งใหญ่ในโลกนาฬิกาได้จวบถึงปัจจุบันนี้ คือ

‘เทคนิค’ (Technique) (การผสมผสานระหว่างความรู้ วิธีการประดิษฐ์นาฬิกาแบบดั้งเดิมเข้ากับวิทยาการเครื่องมือที่ทันสมัยทำให้นาฬิกาของ Vacheron Constantin เป็นแบรนด์ที่เดินทางจากความเรียบง่ายของเครื่องบอกเวลามาสู่จุดสูงสุดของความเป็นนาฬิกาแบบมีกลไลซับซ้อนที่สุด
‘ความงาม'( Aesthetic)( Vacheron Constantin ความล้ำสมัยในการออกแบบของนาฬิกาแบรนด์นี้ไม่เคยหยุดค้นคิดสิ่งใหม่ จากจินตนาการและแรงบันดาลใจถ่ายทอดสู่ภาคความเป็นจริงแห่งดีไซน์ ทำให้ Vacheron เป็นแบรนด์ที่มีความโดดเด่นด้านดีไซน์ที่ยากจะหาใครเทียบเคียงได้

‘ความสมบูรณ์ของนาฬิกา’ (Finishing) (ความชำนาญด้านการประกอบและการขึ้นรูปสำเร็จของนาฬิกาเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้ Vacheron Constantin เป็นที่จดจำของเหล่านักสะสมนาฬิกาจนสามารถพูดได้ว่าความสมบูรณ์แบบของนาฬิกาแบรนด์นี้ไม่เป็นสองรองใครในโลกนาฬิกา

Royal Eagle Chronograph

อุปสรรคขวากหนามต่างๆตลอดเส้นทางสู่ความเป็นสุดยอดของนาฬิกาโลกคงไม่ใช่เส้นทางแห่งฟ้าหลังฝนที่จะสามารถข้ามพ้นไปได้ง่ายๆ แต่ด้วยความอดทนและความมุ่งมั่นในเจตนารมณ์ดั้งเดิมของความเป็น Vacheron Constantin จะเป็นตัวผลักดันให้นาฬิกาแบรนด์นี้ ก้าวขึ้นสู่ความเป็นจ้าวแห่งเรือนบอกเวลาโลกได้อย่างแน่นอน

ประวัตินาฬิกา EBEL

EBEL WATCHES

 

ใครจะะรู้ว่านาฬิกา EBEL ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมไปทั่วโลกเริ่มต้นจากความ “ไม่มีอะไรเลย” ในปี 1911 โดย Alice และ Eugene Blum ทีมงานสามีภรรยาในเมือง La-Chaux-de-Fonds เมืองเล็ก ๆ ในเทือกเขา Jura ซึ่งในระหว่างนั้นถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการทำนาฬิกาของโลก หลังจากนั้นเพียง 3 ปี EBEL ก็ได้รับรางวัลเหรียญทอง ในงาน Swiss National Exhibition จากผลงานการทำนาฬิกา ข้อมือ นาฬิกาห้อยคอ และนาฬิกาแหวน เพียงไม่กี่ปี หลังจากการก่อตั้ง EBEL ก็สามารถสร้างกระแสนิยมได้อย่างรวดเร็วจากการคิดค้นใหม่ ๆ เช่น
ปี 1920 EBEL หันมาพัฒนานาฬิกาแบบพกรุ่น Art Deco พร้อมระบบไขลานอัตโนมัติ ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมาก
ปี 1925 สองสามีภรรยานำนาฬิกาข้อมือที่ทำด้วยแพลตินั่มตกแต่งด้วยอัญมณีเลอค่าออกแสดงในงานศิลปะที่กรุงปารีส
ปี 1932 Charles Blum ลูกชายของทั้งสองได้เข้ามาสืบทอดงานบริหารบริษัทฯ และได้ขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศ พร้อมกับเปิดตัวนาฬิกาซึ่งมีขนาดเล็กมากออกสู่ตลาด จนได้รับประกาศนียบัตร “Diploma of Honour” ในงานBarcelona World Fair รวมทั้งรางวัลชนะเลิศทางด้านอัญมณีที่งาน Swiss National Exhibition ที่กรุงโลซาน

ปี 1972 Pierre Alain Blum ทายาทรุ่นที่ 3 ได้ตัดสินใจประกาศปรับปรุงวิสัยทัศน์ของบริษัทใหม่พร้อมกับมีการออกแบบโลโกและคำขวัญของ EBEL ว่า “Architects of Time” ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางที่มุ่งเน้นเรื่องการออกแบบให้สวยงามและเพียบพร้อมไปด้วยเทคนิคอันเลอเลิศ

3388401f_xxl

หลายปีจากนั้นอีเบลก็ได้สร้างนาฬิกาเด่น ๆ ออกมาอีกหลายรุ่นเช่น นาฬิกาสปอร์ตรุ่น Quantieme Perpetuel ที่เริ่มผลิตในปี 1985 ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักสะสมอย่างมาก ทุกเรือนจะให้วัสดุที่มีคุณค่าสูงในการผลิตเช่น ทองคำ ทองสีชมพู (Pink Gold) ทองคำขาว (White Gold) รวมทั้ง แพลตินั่ม ซึ่งจะผลิตตามใบสั่งซื้อเท่านั้น นาฬิการุ่นนี้จะมีเข็มพิเศษ 3 อันใช้วัดชั่วโมง นาที และวินาที พร้อมหน้าต่างเล็ก ๆ บอกข้างขึ้นข้างแรมด้วย
รุ่น Discovery และรุ่น Voyager ซึ่งผลิตในปี 1978 โดยรุ่น Discovery เป็นนาฬิกาเพื่อการดำน้ำลึกถึง 200 เมตร ขอบตัวเรือนที่หมุนได้ทุกทิศทางมีระบบป้องกันการเคลื่อนที่โดยไม่ตั้งใจ กระจกหน้าปัดกันแสงสะท้อนและป้องกันรอยขีดข่วน และใช้พรายน้ำแบบ Tritium เพื่อให้มองเห็นในที่มืด

ส่วนรุ่น Voyager เป็นนาฬิกาแบบ World Time รุ่นแรกของโลกที่มีระบบไขลานแบบอัตโนมัติ สามารถบอกโซนเวลาได้ถึง 23 แห่งทั่วโลก นอกเหนือจากเวลาท้องถิ่น และในปี 1990 ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมเป็นรุ่น Voyager Atlas ด้วยหน้าปัดแบบลงยา เป็นรูปทวีปที่ดูเหมือนโผล่ขึ้นมาจากท้องทะเลสีทองและสีเงินออกสู่ตลาด

ในปัจจุบัน EBEL มีชื่อเสียงอยู่ในระดับแถวหน้าในเรื่องการออกแบบที่สวยงามและการเลือกใช้วัสดุสูงค่าผสมผสานกันอย่างลงตัว

ประวัตินาฬิกา Tag Heuer

oo

ฮอยเออร์ (Heuer) เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของ เอดูอารค์ ฮอยเออร์ (Edouard Heuer) ผู้ก่อตั้งโรงงานผลิตนาฬิกาเล็ก ๆ ในปี คศ. 1860 ขึ้นใน เมือง แซงต์ อิมิเยร์ (St. Imier) เมืองเดียวกับโรงงานผลิต นาฬิกา Longines ในเวลาไม่นานนักบริษัทของเขาก็มีชื่อเสียงขึ้นในระดับสากลถึงความเป็นสปอร์ตอันทรงคุณค่า จากความลุ่มหลงในกีฬา และการคิดค้นใหม่ ๆ โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ของฮอยเออร์นั้น เมื่อคนพูดถึงนาฬิกาจับเวลา นาฬิกาจับเวลาที่ฮอยเออร์ผลิตออกมานั้น มีตั้งแต่นาฬิกาจับเวลาขนาดใหญ่ไปจนถึงนาฬิกาข้อมือ และมีการพัฒนาคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นในปี 1911 ฮอยเออร์ได้เปิดตัวนาฬิกาจับเวลาแบบติดตั้งในรถยนต์ขึ้นเป็นเรือนแรก และหลังจากนั้น 5 ปี ก็สามารถผลิตนาฬิกาจับเวลาได้ละเอียดถึง 1/100 วินาทีเป็นรายแรก
ฮอยเออร์นั้นมีพรสวรรค์ในการผลิตนาฬิกาจับเวลาหรือโครโนกราฟอย่างแท้จริงแม้ว่าในตอนแรกเริ่มโรงงานของเขาเองไม่สามารถผลิตกลไกจับเวลาได้ เขาได้ใช้เครื่องจากผู้ผลิตชื่อดังต่าง ๆ เช่น ฮาห์น แลนเดรอน (Hahn Landeron) เลอมาเนีย (Lemania) รวมทั้ง วัลฌูส์ (Valjoux) มาปรับแต่งและประกอบเข้ากับตัวเรือน

102447779-TAG_Heuer.1910x1000

ปี 1966 ได้ร่วมมือกับ ไบรท์ลิ่ง(Breitling) ดูบัวส์-เดปราซ์ (Dubois-Deparz) และแฮมิลตัน-บิวเรน(Hamilton-Buren) พัฒนาเครื่อง Cal.11 โดยแฮมิลตัน-บิวเรนรับหน้าที่พัฒนากลไกออโตเมติกแบบพิเศษ ดูบัวส์ พัฒนาโมดูลระบบกลไกโครโนกราฟ ส่วนฮอยเออร์และไบรท์ลิ่งร่วมกันผลิตและพัฒนาชิ้นส่วนที่เหลือรวมทั้งออกแบบตัวเรือนและหน้าปัด ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ทำให้โครโนกราฟรุ่นนี้มีจุดเด่นหลายอย่างที่แตกต่างจากเครื่องที่มีอยู่ในตลาดเวลานั้น เช่นปุ่มกดและเม็ดมะยมจะอยู่คนละฝั่งกัน โดยปุ่มกดจะอยู่ที่ตำแหน่ง 2 และ 4 นาฬิกา ส่วนมะยมจะอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา นอกจากนี้ยังสร้างระบบพลังงานสำรองเป็นแบบ ขึ้นลานอัตโนมัติโดยการให้ลูกเหวี่ยงแบบ ไมโครโรเตอร์(Microrotor) ฝังอยู่ด้านหลังเครื่องฝั่งหน้าปัด เมื่อมองจากด้านหน้าเครื่องจะเห็น เหมือนกับเป็นเครื่องไขลานปกติ และยังมีความหนาที่ลดลงด้วย

Edouard Heuer นั้นทุ่มเทในกับความแม่นยำและเที่ยงตรงด้วยจิตวิญญาณของคนรักกีฬา เมื่อเขาก่อตั้งโรงงานในปี 1860 ความมุ่งมั่นอย่างเดียวของเขาก็คือ ยกระดับการจับเวลาให้อยู่ในระดับสูง จากนั้นเป็นต้นมาฮอยเออร์ก็ได้ชื่อว่า เป็นAvant-garde หรือ นักคิดค้นแห่งศิลปะการจับเวลา ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคโนโลยีหรือวัสดุ รวมทั้งดีไซน์ที่จับใจ

ฮอยเออร์ได้รับสิทธิบัตรมากมายในการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งเป็นการยืนยันถึงอัจฉริยภาพของเขา
ฮอยเออร์เป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการของการแข่งแชมป์โลกสกี รถสูตร 1 (Formula 1)รวมทั้งกีฬาอื่น ๆ อันนำมาซึ่งแรงบันดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีการจับเวลาอีกด้วย

ปี 1999 Tag Heuer ได้เข้ารวมกลุ่มกับ LVMH (Louis Vuitton-Mot Hennessy)ซึ่งในกลุ่มนี้มีนาฬิกา Zenith, Ebel Chaumet, Benedom และ Fred รวมอยู่ด้วย ทำให้ปัจจุบัน Tag Heuer เป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตนาฬิกาที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
« Back

ประวัตินาฬิกา Omega

ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักนาฬิกายี่ห้อ Omega

เบื้องหลังความสำเร็จก็คือ คุณภาพที่เชื่อถือได้ของนาฬิกา Omega ทุกเรือน

2000px-Omega_Logo.svg

Omega ถือกำเนิดในปี 1848 ที่ La Chaux-de-Fonds โดยนักประดิษฐ์หนุ่มอายุเพียง 23 ปี ชื่อ Louis Brandt. โดย Louis Brandt ได้ประกอบนาฬิกาพกซึ่งใช้ชิ้นส่วนของนักประดิษฐ์ในท้องถิ่นและผลงานของเขาได้ค่อยๆสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก.

Louis Brandt ได้จากไปในปี 1879 โดยมีบุตรชาย 2 คน คือ Louis Paul และ César Brandt เป็นผู้รับช่วงกิจการ และได้ย้ายบริษัทไปที่ Bienne ในดือนมกราคม 1880 เนื่องจากความพร้อมมากกว่าในด้านกำลังคน การติดต่อสื่อสาร และพลังงาน โดยเริ่มแรกย้ายไปโรงงานเล็กๆในเดือนมกราคม และได้ซื้อตึกทั้งหลังในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน.

2 ปีต่อมาได้ย้ายไปที่ Gurzelen district of Bienne ซึ่งสำนักงานใหญ่ยังคงตั้งอยู่ที่นี่ถึงปัจจุบัน.

ทั้ง Louis-Paul และ César Brandt ได้ตายพร้อมกันในปี 1903 ได้ทิ้งบริษัทผู้ผลิตนาฬิกาสวิสที่ใหญ่ที่สุด ด้วยยอดกำลังการผลิตนาฬิกา 240,000 เรือนต่อปี และพนักงาน 800 คน ไว้ในการบริหารของกลุ่มคนหนุ่ม 4 คน ซึ่งผู้ที่อาวุโสที่สุดก็คือ Paul-Emile Brandt มีอายุเพียง 23 ปี

Omega-Seamaster-Professional-Co-Axial_www.LuxuryWallpapers.net_

ด้วยความยากลำบากอันเกิดขึ้นเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 1 OMEGA ได้ตัดสินใจรวมกิจการกับ Tissot ตั้งแต่ 1925 จนถึง 1930 ภายใต้ชื่อ SSIH.

ในช่วงทศวรรษ 70 SSIH ได้กลายเป็น ผู้ผลิตนาฬิกาสวิสอันดับหนึ่งและเป็นอันดับ 3 ของโลก.จนกระทั่งช่วงวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในระหว่าง 1975 ถึง 1980,SSIH ได้ถูกซื้อกิจการ โดยแบงก์ในปี 1981. ในปี 1985 ธุรกิจได้ถูกควบกิจการโดยกลุ่มนักธุรกิจเอกชนกลุ่มหนึ่งภายใต้การบริหารของ Nicolas Hayek และได้เปลี่ยนชื่อเป็น SMH , Societe suisse de microelectronique et d’horlogerie,

กลุ่มใหม่นี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และเติบโตเป็นผู้ผลิตแนวหน้าของโลก.

ในปี 1998 ชื่อของ Swatch Group ได้ถูกเรียกขาน และได้รวมเอา Blancpain และ Breguet เข้ามาร่วมด้วย และแน่นอนชื่อของ OMEGA ก็ยังคงเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่สร้างชื่อเสียงที่สุดและเป็นแบรนด์สำคัญของกลุ่ม

First watch on the moon

SP_Speedmaster57_33110425101002_vueC_1600x900

รุ่นที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Omega ก็คือ Omega Speedmaster โดยรุ่นแรกที่ผลิตออกมาคือรุ่น CK2915 ในปี 1957 และได้ผลิต speedmaster ออกมาเรื่อยๆจนถึงวันหนึ่งในช่วงต้นทศวรรษ 60 ในเวลานั้น NASA กำลังดำเนินโครงการอวกาศ MERCURY และก็กำลังจะเริ่มต้นโครงการ GEMINI หรือการส่งคนหนึ่งคู่ ออกไปโคจรรอบโลกซึ่งโครงการ Mercury ที่ NASA กำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นการปฏิบัติภารกิจภายในยาน โดยนักบินถูกส่งไปโคจรรอบโลก ส่วน ภารกิจ Gemini นั้น จะมีการส่งคนออกไปนอกยานเพื่อลอยไปลอยมา และทำการทดลองต่างๆ ดังนั้น NASA จึงเกิดความต้องการที่จะจัดหานาฬิกาเพื่อใช้ในโครงการอวกาศต่างๆต่อไป โดยนาฬิกาที่ว่าจะต้องมีระบบจับเวลาเพื่อถูกใช้สำรองในกรณีที่ระบบเวลาหลักล้มเหลว นาฬิกาที่ว่าจะต้องทนต่อทุกสภาวะ ทั้งความกดดันอากาศ สภาพสุญญากาศ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจากติดลบไปเป็นร้อยองศาเพียงเคลื่อนข้ามจากใต้เงาไปสู่แสงแดด

 

ดังนั้นในปี 1962 NASA จึงได้ส่งพนักงานจัดซื้อของตนออกไปหาซื้อนาฬิกาจับเวลามาอย่างละเรือนสองเรือนเพื่อใช้ในการทดสอบแบบไม่เป็นทางการ การจัดหาก็ทำอย่างง่ายๆ คือให้เจ้าหน้าที่ของตนไปที่ร้านขายนาฬิกาที่ใหญ่ที่สุดในเมืองที่สำนักงานใหญ่ของตนตั้งอยู่ก็คือ Houstan รัฐ Texas ห้างดังกล่าวชื่อ Corrigan ซึ่งในปัจจุบันร้านนี้ก็ยังคงเป็นตัวแทนจำหน่ายของ Omega อยู่ หลังจากซื้อมาแล้ว Nasa ก็ได้วิเคราะห์นาฬิกาต่างๆและนำมาลองใช้ในโครงการ Mercury จนได้ไอเดียคร่าวๆแล้ว ในปี 1964 Nasa จึงกำหนดข้อต้องการในการจัดซื้อนาฬิกาต่างๆมาทดสอบเพื่อทำการใช้ในโครงการอวกาศ Gemini และ Apollo ใบขอสั่งซื้อได้ถูกส่งไปยังบริษัทต่างๆเช่น Elgin, Benrus, Hamilton, Mido, Luchin Picard, Omega, Bulova, Rolex, Lonngines, Gruen โดยมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้

1. ให้ส่งมอบไม่เกินวันที่ 21/10/1964
2. ต้องเดินผิดพลาดไม่เกิน 5 วินาทีต่อ 24 ชั้วโมง จะยิ่งดีถ้าเดินผิดพลาดไม่เกิน 2 วินาทีต่อวัน
3. ต้องกันแรงดันได้ตั้งแต่ แรงดันน้ำที่ 50 ฟุต จนถึงสุญญากาศที่ 10^ -5 มม ปรอท
4. หน้าปัดต้องอ่านง่ายในทุกสภาวะ โดยเฉพาะภายใต้แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นสีแดงหรือขาว อย่างต่ำๆต้องมองเห็นภายใต้แสงเทียนที่ระยะ 5 ฟุต ในสภาวะแสงจ้าหน้าปัดไม่ควรไม่มีแสงสะท้อน ถ้าจะให้ยิ่งดีหน้าปัดควรมีสีดำ
5. หน้าปัดต้องแสดง วินาที 60 วินาที วงนาที 30 นาที และวงชั่วโมง 12 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น
6. นาฬิกาต้องกันน้ำ กันกระแทก กันแม่เหล็ก กระจกหน้าปัดต้องต้องไม่คมและไม่กระจายเป็นเศษๆเวลาแตก
7. นาฬิกาที่จัดหาจะเป็นไขลาน ออโต หรือใช้ระบบไฟฟ้าก็ได้ แต่ต้องเอามือหมุนขึ้นลานได้
8. นาฬิกานี้บริษัทที่จำหน่ายต้องมีรับประกันเป็นเวลาอย่างต่ำ 1 ปี

จากสเป็คจะเห็นได้ว่า Nasa อาจได้ลองใช้นาฬิกาหลายๆยี่ห้อแล้วติดใจใน Omega เพราะเสป็คที่ออกมาเข้ากับOmega ทุกอย่าง ในขณะนั้นยังไม่มีนาฬิกาจับเวลาแบบ auto หรือใช้ไฟฟ้าออกมา และบางบริษัทก็ได้ปฎิเสธที่จะส่งนาฬิกาให้เนื่องจากว่าตนไม่ได้ผลิตนาฬิกาที่ตรงกับข้อกำหนดดังกล่าว การทดสอบที่ Nasa จัดขึ้นมาก็แบ่งเป็นชุดๆ หลายๆขั้นตอน พอสิ้นสุดการทดสอบแต่ละครั้ง นาฬิกาแต่ละเรือนก็จะถูกเช็คอย่างละเอียด ถ้าเดินไม่ตรงมากๆ ไขลานไม่ได้ จับเวลาไม่ได้ น้ำเข้า หรือชิ้นส่วนพัง ก็จะถูกคัดออกจากการทดสอบ

การทดสอบหฤโหด ได้แบ่งเป็นช่วงๆดังนี้ ระหว่างการทดสอบในแต่ละช่วง นาฬิกาก็จะถูกตรวจว่ายังทำงานปกติหรือไม่

1. เข้าห้องอบที่อุณหภูมิ 71 ๐C 48 ชั่วโมง แล้วต่อด้วย 93 ๐C 30 นาที ปรับความดันไว้ที่ 0.35 ATM ความชื้น 15%
2. อุณหภูมิ -18 ๐C 4 ชั่วโมง
3. ที่สุญญากาศ 10^ -6 ATM เข้าห้องอบลดอุณหภูมิจาก 71 ๐C ลงมาที่ -18 ๐C ในเวลา 45 นาที และเพิ่มกลับไปที่ 71 ๐C ในอีก 45 นาที ทำแบบนี้วนไปวนมา 15 รอบ
4. เข้าตู้อบความชื้นสูง 95% เป็นเวลา 240 ชั่วโมง อุณหภูมิในห้องทดสอบเปลี่ยนไปมาระหว่าง 20 – 71C ไอน้ำไม่เป็น กรดหรือด่าง
5. เข้าห้องอบ Oxygen 100% ที่แรงดัน 0.55 ATM เป็นเวลา 48 ชั่วโมงที่อุณหภูมิ 71 C ถ้ามีรอยใหม้ เกิดแก๊สพิษลอยออกมา หรือยางเสื่อมสภาพถือว่าสอบไม่ผ่าน
6. โดนแรงเหวี่ยง 40G (ความเร่ง) ครั้งละ 11 Millisecond หกทิศทาง (คล้ายๆกับเหวี่ยงนาฬิกาแรงๆมากๆ เร็วมากๆ)
7. ความเร่งจาก 1G ไป 7.25G ในเวลา 333 วินาที (ลักษณะคล้ายๆยิงจรวดขึ้นฟ้า)
8. เข้าห้องสุญญากาศแรงดัน 10^ -6 ATM อีก 90 นาทีที่ 71 ๐C และอีก 30 นาทีที่ 93 ๐C
9. แรงดันอากาศสูง 1.6 ATM เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
10. เข้าเครื่องเขย่า 30 นาที ที่ความถี่เปลี่ยนไปมาระหว่าง 5 – 2000 รอบต่อวินาที และที่ 5 รอบต่อวินาทีต่ออีก 15 วินาที แรงเขย่าอย่างต่ำๆ 8.8 G (เหมือนเขย่าแรงๆช้ามั่ง เร็วมั่ง)
11. โดนยิงคลื่นเสียงที่ดัง 130 dB เป็นเวลา 30 นาที โดยใช้เสียงทุกช่วงความถี่ที่คนได้ยิน

max1-seamaster-planet-ocean-600m-42mm-omega-watch
หลังการทดสอบ Rolex หยุดเดินสองครั้ง 1 และเข็มงอพันเข้าหากันในตู้อบความร้อน เลยถูกคัดออกจากการทดสอบ ส่วน Longines นั้นกระจกหลุดร่วงออกจากตัวเรือน เปลี่ยนตัวใหม่เข้า test ต่อก็ยังร่วงอีกเลยสอบตกไปตามๆกัน ที่เหลือรอดมาได้คือ Omega Speedmaster ซึ่งหลังจากผ่านการทดสอบแล้ว สูญเสียความเที่ยงตรงในการทดสอบความเร่งและทดสอบสูญญากาศ พรายน้ำที่หน้าปัดมีรอยไหม้แต่อย่างอื่นปกติ ซึ่งเป็นที่พอยอมรับกันได้ Omega จึงผ่านการทดสอบและได้รับการบรรจุให้เป็น อุปกรณ์หลักในโครงการอวกาศ Gemini และ Apollo โดยเริ่มจากโครงการ Gemini 3

ต่อมาปี 1965 Mission Gemini 4 Edward White ก็ได้ใช้ Omega Speedmaster ในการจับเวลาการลอยไปลอยมาในอวกาศ (Space walk) ของตน

ดังนั้นในปี 1966 Omega จึงได้เพิ่มคำว่า PROFESSIONAL ต่อท้ายคำว่า Speedmaster บนหน้าปัดเพื่อเฉลิมฉลองการยอมรับจาก Nasa ให้ใช้ในโครงการอวกาศของตน

ต่อมา มีแรงกดดันจากทำเนียบขาว เนื่องจากทางผู้ผลิตนาฬิกาอเมริกันไม่พอใจที่มีการใช้นาฬิกาสวิสในโครงการอวกาศของอเมริกัน และโครงการส่งคนไปบนดวงจันทร์ ทาง Nasa จึงได้มีการตอบกลับไปพร้อมผลทดสอบว่าได้ทำการทดสอบแล้วพบว่า นาฬิกาที่ผลิตในประเทศไม่ผ่านการทดสอบนี้

และแล้วในปี 1969 มนุษย์กลุ่มแรกก็ถูกส่งไปยังดวงจันทร์พร้อมด้วย Omega Speedmaster ภายใต้ภารกิจที่ชื่อ Apollo 11 ภารกิจนี้มีนักบินด้วยกันสามคนคือ Buzz Aldlin, Niel ArmStrong และ Michael Collins โดยสองคนแรกลงไปใน Lunar Module เพื่อร่อนลงบนดวงจันทร์ ส่วน Michael Collins ต้องอยู่บนยานแม่ซึ่งโคจรอยู่เหนือดวงจันทร์ ก่อนการแยกยาน นาฬิกาหลักบนยานแม่เกิดขัดข้อง Niel Armstrong จึงต้องทิ้งนาฬิกาของตนไว้บนยานแม่เพื่อใช้สำรองแทนเครื่องที่พัง ดังนั้นคนที่ใส่นาฬิกาลงไปบนดวงจันทร์คนแรกไม่ใช่ Niel Armstrong แต่เป็น Buzz Aldlin นาฬิกาเรือนถูกใช้จับเวลาที่นักบินทั้งสองปฎิบัติการอยู่ภายนอกยานบนดวงจันทร์ นี่เป็นที่มาของตำนาน The First Watch worn on the moon น่าเสียดายอย่างยิ่งตรงที่ว่าเมื่อ Buzz Aldlin กลับมาถึงโลกแล้ว ทรัพย์สินเครื่องใช้ต่างๆต่างก็ถูกขโมย หายไปรวมทั้งนาฬิกา Omega Speedmaster เรือนแรกที่มนุษย์โลกสวมบนดวงจันทร์ด้วย ปีต่อมา Mission Apollo 13 Omega Speedmaster Professional ก็ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญอีกครั้งใน Mission Apollo 13 ซึ่ง Nasa ได้ทำการส่งคนไปลงดวงจันทร์อีก ระหว่างทางถัง oxygen ของยานได้เกิดระเบิดขึ้นมาทำให้สูญเสียแหล่งกำเนิดไฟฟ้าในยานทั้งหมด นักบินต้องเอาชีวิตรอดโดยการนำยานเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์และใช้แรงเหวี่ยงของดวงจันทร์ผลักให้ยานพุ่งกลับสู่โลก การทำงานทำได้โดยติดขัดเพราะมีไฟฟ้าเพียงแค่พอหล่อเลี้ยงอุปกรณ์สื่อสารเท่านั้น เครื่องมือจับเวลาไฟฟ้าประจำยานล้มเหลวทั้งหมด ดังนั้นนักบินจึงต้องใช้นาฬิกา Speedmaster จับเวลาการจุดระเบิดของเครื่องสร้างแรงขับดัน เพื่อบังคับทิศทางยานให้พุ่งกลับสู่โลก ใครเป็นเจ้าของ Speedmaster และได้ดูหนัง เรื่อง Apollo 13 จะภูมิใจกับนาฬิกาของตนมาก เพราะมีฉากหนึ่งที่ผู้การ Jim Lowell ได้ใช้นาฬิกา Speedmaster จับเวลาอย่างชัดเจน

ปี 1975 มีโครงการอวกาศร่วมระหว่างสหรัฐกับสหภาพโซเวียตในการนำยาน Apllo เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศ Soyuz ของโซเวียต มีการจับมือกลางอวกาศ และเซ็นเอกสารเป็นที่ระลึก นักบินชาวอเมริกันและรัสเซียต่างก็ประหลาดใจเมื่อพบว่าทั้งสองฝ่ายใช้นาฬิกาเหมือนๆกันคือ Omega Speedmaster นั่นเอง แสดงว่า Omega รุ่นนี้เป็นที่ยอมรับกันทั้งสองค่าย ส่วนนักบินรัสเซียอีกคนที่ชื่อ Alexandr Polishchuk ก็เลือกใช้ Omega เช่นกันแต่เป็นรุ่น Flight Master ซึ่งเป็นนาฬิกาลูกพี่ลูกน้องของ Speedmaster

ต่อมาช่วงต่อระหว่างโครงการ Apollo และโครงการ Space Shuttle ได้มีการจัดหานาฬิกาที่จะนำมาใช้ โดยมีการทดสอบแบบเดิม ครั้งนี้มีแรงผลักดันจากรัฐบาลให้นาฬิกาในประเทศอย่าง Bulova ได้เข้าทดสอบด้วย แต่ในที่สุดผู้ที่ชนะในการทดสอบครั้งนี้ก็ยังเป็น Omega Speedmaster Professional เช่นเดิม แต่ในครั้งนี้สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ Omega ได้ใช้เครื่องรุ่นใหม่ Caliber 861 (Based on lemania 1863) เนื่องจากผู้ผลิตเดิมเลิกทำการผลิตเครื่องรุ่น 3210 แล้ว ช่วงหลังๆภารกิจ Space Shuttle ได้มีการปรับบรรยากาศภายในยานให้คนอยู่ได้โดยไม่ต้องสวมชุดอวกาศ และมีการค้นคิดนาฬิกาแบบ Quartz และ computer แบบติดข้อมือซึ่งมีความเสถียรมากขึ้นๆ ทำให้ให้บทบาทของนาฬิกาแบบ Mechanic ลดน้อยถอยลงไป Omega Speedmaster จึงค่อยๆกลายเป็นอุปกรณ์เพื่อ Back up แต่ชื่อเสียงและความยิ่งยงในอดีตก็ยังคงไม่ลืมเลือน มีนักบินอวกาศหลายคนที่ยังเลือกใช้ Omega Speedmaster ในชีวิตประจำวันของตน เพื่อเป็นที่ระลึกถึงภารกิจนอกโลกที่ตนเคยมีส่วนร่วมนั่นเอง

ประวัตินาฬิกา Rolex

Rolex_logo.svg

 

Rolex ก่อตั้งขึ้นในปี คศ.1908 โดย ฮันส์ วิลส์ดอร์ฟ (Hans Wilsdorf) ชาวเยอรมัน ซึ่งในตอนแรกใช้ชื่อบริษัทว่า วิลส์ดอร์ฟแอนด์เดวิส โดยที่เข้าหุ้นกับน้องเขยซึ่งในขณะนั้น การผลิตนาฬิกาแบบพก (Pocket Watch) ส่วนใหญ่ผลิตที่สวิสเซอร์แลนด์ยังประสบปัญหา ในการทำให้มีขนาดเล็กแต่เที่ยงตรงและแม่นยำเชื่อถือได้เพื่อนำมาใส่ในตัวเรือนนาฬิกาข้อมือ วิลส์ดอร์ฟ เป็นผู้แสวงหาความสมบูรณ์แบบในการพัฒนาเครื่องให้มีขนาดเล็กแต่เที่ยงตรงเพื่อนำมาใช้กับนาฬิกาข้อมือ ที่สามารถสื่อถึงสไตล์ แฟชั่น และรสนิยม ซึ่งในระยะแรกได้ให้ Aegler บริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในสวิสเป็นผู้ผลิตเครื่องให้ ในปี 1910 Rolex ได้ส่งนาฬิกาไปที่ School of Horology และได้รับรางวัลในฐานะนาฬิกาข้อมือเรือนแรกของโลกที่ได้ Chronometer Rating ความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้นี้เกิดจากการปฏิวัติรูปแบบใหม่ทำให้สามารถกันน้ำและฝุ่นเข้าตัวเรือนได้โดยการคิดระบบมะยมแบบเกลียว (Screw Crown) ขึ้น ซึ่งนาฬิกากันน้ำเรือนแรกนี้ถูกนำมาโฆษณาอย่างชาญฉลาดโดยทำเป็นอะควาเรียม คือโชว์หน้าร้านโดยมีนาฬิกาอยู่ในโลกใต้ทะเลอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติการกันน้ำได้อย่างชัดเจน ซึ่งก่อนหน้านี้คนส่วนใหญ่ยังแคลงใจว่านาฬิกาจะกันน้ำได้จริงหรือไม่ นี่เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของชื่อเสียงที่ทำให้โรเล็กซ์ดังไปทั่วโลก

 

Rolex-For-Apple-Owners

ปี 1928 Rolex Prince ได้ชื่อว่าเป็นนาฬิกาที่ขายดีที่สุดจากดีไซน์สี่เหลี่ยม 2 หน้าปัด

ปี 1931 Rolex ได้ประดิษฐ์ Rotor รูปครึ่งวงกลมซึ่งหมุนได้อย่างอิสระที่ทำให้เกิดระบบ Perpetual อัตโนมัติขึ้น

กล่าวกันว่าสิ่งที่ทำให้ Rolex โดดเด่นเหนือนาฬิการะดับสูงอื่น ๆ คือ รูปทรงกลมขนาดใหญ่ของหน้าปัดและสายที่มีความกว้าง แต่สง่างามมองเห็นได้แต่ไกลซึ่งพิสูจน์ความเป็นอมตะไว้อย่างยาวนาน แม้ Rolex จะมีพัฒนาการด้านดีไซน์ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา แต่นั่นเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อย Rolex รุ่น Datejust จากปี 1945 ถึงรุ่นปัจจุบัน คุณจะพบว่า แม้ตัวเครื่องและชิ้นส่วนภายในแทบจะไม่มีชิ้นไหนเหมือนและใช้แทนกันได้เลย แต่รูปลักษณ์ภายนอกกลับเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คุณค่าเหนือกาลเวลาของโรเล็กซ์กลายเป็น “การลงทุนที่ชาญฉลาด” สำหรับนักสะสมนาฬิกาหลายคน การประมูลนาฬิกา โรเล็กซ์รุ่นเก่า ๆ สามารถสร้างความฮือฮาให้เกิดขึ้นได้เสมอ

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนาฬิกาสวิสที่มีชื่อเสียงที่สุดแต่ โรเล็กซ์ก็เป็น “คนนอก” ของเจนีวาเสมอ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโรเล็กซ์ก่อตั้งขึ้นที่ลอนดอนในปี 1905 โดยวิลส์ดอร์ฟ ซึ่งเป็นชาวเยอรมันซึ่งต่อมาได้สัญชาติอังกฤษจากการสมรส ในสมัยนั้นกระแสชาตินิยมเป็นตัวกำหนดหลักคิดหลาย ๆ อย่าง แต่สำหรับวิลส์ดอร์ฟผู้มองการณ์ไกล ก่อนใครจะรู้จักคำว่า “Multinational” วิลส์ดอร์ฟได้จดทะเบียนการค้าเครื่องหมาย Rolex ในปี 1908 ซึ่งเขาคิดว่ามันเป็นคำที่ออกเสียงง่ายในหลายภาษาทั่วโลกและสั้นกระชับที่จะประทับลงบนหน้าปัดนาฬิกา กล่าวกันว่า เขาคิดขึ้นได้ในขณะโดยสารรถบัสในลอนดอนโดยได้แรงบันดาลใจจากเสียงการทำนาฬิกา โรงงานของโรเล็กซ์ตั้งอยู่ในลอนดอนจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อภาษีนำเข้าพุ่งสูงขึ้นถึง 33 เปอร์เซ็นต์ทำให้การนำเข้าอะไหล่จากสวิสมีต้นทุนสูงเกินไป โรเล็กซ์จึงต้องไปตั้งในเมกกะของโลกนาฬิกา -เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์

Platinum-Rolex-Daytona-Basel-2013

วิลส์ดอร์ฟ ไม่ใช่ผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือเรือนแรก แต่เขาต้องการเป็นผู้ประดิษฐ์นาฬิกาที่ เที่ยงตรง (Accurate) และเชื่อถือได้ (Reliable) ให้ได้เป็นเรือนแรกของโลก ซึ่งในปี 1926 โรเล็กซ์ได้สร้างความตื่นตะลึงให้แก่วงการด้วยรุ่น Oyster ระบบมะเย็มเกลียว และซีลยางเป็นการล็อค 2 ชั้นไม่ให้ฝุ่นและความชื้นเข้า โดยเขาตั้งชื่อมันจากการรำลึกถึงความยากลำบากในการเปิดหอย Oyster ในงานเลี้ยงคืนหนึ่ง การสร้างกระแสนิยมให้กับนาฬิกาของเขา วิลส์ดอร์ฟเลือกวิธีได้อย่างชาญฉลาด เขาได้ให้นักว่ายน้ำที่เตรียมการณ์ว่ายน้ำ ข้ามช่องแคบอังกฤษซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของสาธารณชนในสมัยนั้น โดยสาวอังกฤษนาม Mercedes Gleitze สวมใส่โรเล็กซ์ พร้อมด้วยช่างภาพตามเก็บภาพอย่างใกล้ชิด ในที่สุด Gleitze ก็สามารถพิชิตช่องแคบอังกฤษลงได้พร้อม ๆ กับนาฬิกาโรเล็กซ์ บนข้อมือซึ่งยังคงทำงานของมันอย่างเที่ยงตรงไร้ที่ติ วิลส์ดอร์ฟประโคมข่าวหน้าหนึ่งในนสพ.ลอนดอน เดลิเมล์ อย่างครึกโครมว่า “นาฬิกามหัศจรรย์! กันน้ำ กันร้อน กันสะเทือน กันหนาว และกันฝุ่น” ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิลส์ดอร์ฟได้สร้างหัวข้อสนทนาขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นการรณรงค์โฆษณาที่ประสบความสำเร็จที่สุดมาจนทุกวันนี้

จุดอ่อนบางประการของ Oyster ถ้าจะมีก็คือปุ่มหมุนไขลานตั้งเวลา ดังที่ทราบกันว่านาฬิการะบบกลไกจะต้องมีการหมุนปุ่มตั้งสม่ำเสมอ และ Oyster จะกันน้ำกันฝุ่นได้ก็ต่อเมื่อมะยมเกลียวถูกขันให้อยู่ในตำแหน่งปิด การหมุนปุ่มบ่อย ๆ ทำให้โอกาสที่น้ำและฝุ่นจะเข้ามีเพิ่มมากตามลำดับ ดังนั้นเพื่อลบจุดอ่อนนี้ โรเล็กซ์ได้สร้างรุ่น Perpetual ออกสู่ตลาด กุญแจคือ Rotor เป็นตัวสร้างพลังสำรอง จากการเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่เอง ใช่แล้ว นาฬิการะบบออโตเมติกที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเรือนแรกของโลกได้เกิดขึ้นแล้วในปี 1931 ซึ่งทำให้โรเล็กซ์สร้างอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ขึ้น ว่ากันว่า Rolex Oyster Perpetual ได้ทำให้ Rolex เป็น Rolex นั่นเอง

maxresdefault

อีกกว่า 70 ปีที่ผ่านมา Oyster ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นของคุณภาพภายใต้สภาพการณ์ทดสอบแบบสุดขั้วต่าง ๆ เช่น การดำไปใต้ทะเลลึกกับ Jacques Piccard การขึ้นยอดเขาเอเวอร์เรสกับ เซอร์เอ็ดมุนด์ ฮิลลารี่ การทดสอบในอุณหภูมิขั้วโลก ในทะเลทรายซาฮาร่า รวมทั้งสภาวะไร้น้ำหนักในอวกาศ ทั้งเรื่องเล่าเกี่ยวกับอุบัติเหตุเครื่องบินตก เรือล่ม ตกจากที่สูง โรเล็กซ์ที่ถูกเผลอนำเข้าเตาอบ 500 องศา เข้าเครื่องซักผ้า เหล่านี้ ไม่เคยทำให้โรเล็กซ์ที่ซ่อมแซมแล้วกลับมาเดินเที่ยงตรงอีกไม่ได้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ชื่อเสียงของโรเล็กซ์เป็นสัญญลักษณ์ที่มีคุณค่า นักบินใน Royal Air Force ของอังกฤษปฏิเสธที่สวมใส่ นาฬิกาที่รัฐบาลจัดหาให้ แต่ยอมสละเงินเดือนเกือบทั้งหมดเพื่อที่ขอสวมใส่โรเล็กซ์ ผลตอบแทนเกิดขึ้นเมื่อหลังสงคราม นักบินอังกฤษที่ถูกจับกุมและยึดนาฬิกาไป ได้รับนาฬิกาเรือนใหม่ชดเชยเมื่อแจ้งไปยังกรุง เจนีวา แต่ในขณะเดียวกันทหารอเมริกันที่ยึดนาฬิกาไป กลับบ้านพร้อมกับเครื่องประดับบนข้อมือชิ้นใหม่ และนั่นเป็นจุดเริ่มของเรื่องอันยิ่งใหญ่ของโรเล็กซ์ในอเมริกา

ถึงแม้วิลส์ดอร์ฟจะอยู่ในเจนีวากว่า 40 ปี วิลส์ดอร์ฟก็ไม่ได้สัญชาติสวิส เขาเสียชีวิตในปี 1960 ที่ Briton ชื่อของเขาถูกจารึกในฐานะเป็นเพื่อนที่มีอารมณ์ขัน รักครอบครัวพอ ๆ กับนาฬิกาเป็นชีวิตจิตใจ และอีก 2 ปีต่อมา อังเดร ไฮนิเกอร์ทีร่วมงานมากับวิลส์ดอร์ฟ 12 ปีก็ก้าวสู่ตำแหน่งเอ็มดีแทน ไฮนิเกอร์ที่ร่วมวิสัยทัศน์กับวิลส์ดอร์ฟ เต็มไปด้วยพลัง และทัศนคติเชิงบวก ได้พาโรเล็กซ์ผ่านมรสุมแห่งวงการนาฬิกาสวิสในเวลาต่อมา

ช่วงทศวรรษ 1960 ถึง 1970 ตอนต้น กระแสความนิยมนาฬิกาควอตซ์ได้ระบาดเข้ามาแทนที่นาฬิการะบบกลไก เนื่องจากมีต้นทุนทีต่ำกว่ามากและยังมีเทคโนโลยีระบบดิจิตอลที่ทำให้เที่ยงตรงได้มากกว่า “ไซโก” ได้ทำให้อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสเข้าสู่วิกฤต อย่างแท้จริง กว่าครึ่งหนึ่งต้องปิดกิจการลง และ 1 ใน 3 ของผู้ที่เหลืออยู่ต้องหันมารวมตัวกันเพื่อความอยู่รอดเช่น Omega, Longines,Blanpain, Tissot, Rado และ Hamilton ต้องรวมตัวกันเป็นคอนซอเตียม และส่วนใหญ่จะต้องหันมาผลิตนาฬิการะบบควอตซ์กันหมด แต่โรเล็กซ์สร้าง Private Trust ซึ่งบริหารงานโดยคณะกรรมการของตนเองเพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซงจากภายนอก รวมทั้งยืนหยัดในการผลิตนาฬิการะบบกลไกอย่างมั่นคง

อะไรทำให้โรเล็กซ์ยืนหยัดอยู่ได้ ? คำตอบคือ โรเล็กซ์มีผู้บริหารสูงสุดเพียง 2 คนนั่น วิลส์ดอร์ฟ และ ไฮนิเกอร์ ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์ยาวไกลและพลังสร้างสรรอย่างล้นเหลือ พวกเขาไม่เคยกังวลเรื่อง “ผลประกอบการไตรมาสนี้” แต่คำถามของพวกเขาจะเป็น “ในอีก 5 ปีหรือ 10 ปีข้างหน้าเราจะทำอะไร” โรเล็กซ์จึงมีทิศทางและวิถีที่ชัดเจนของตนเองอย่างมั่นคงโดยไม่ถูกกระแสสังคมภายนอกทำให้เปลี่ยน และโรเล็กซ์ไม่ฉวยประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงโดยการเปลี่ยนแปลงตนเอง ในช่วงปี 1970 นั้น โรเล็กซ์ผลิตนาฬิการะบบคว็อตซ์เพียงไม่เกิน 7 เปอร์เซ็นต์ และลดลงเหลือเพียงไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน

ปี 1992 ปาทริค ไฮนีเกอร์ บุตรชายของอังเดร ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแทนบิดาของเขา แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือทัศนคติเชิงบวกและพลังสร้างสรรอย่างเหลือล้น ซึ่งทำให้โรเล็กซ์คงความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง

Montres Rolex SA. หรือบริษัทโรเล็กซ์ ยังคงเป็นดินแดนลึกลับและเป็น คนนอกของเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ ผู้บริหารระดับสูงของโรเล็กซ์แทบจะไม่เคยให้สัมภาษณ์ใด ๆ กับสื่อมวลชน ปรัชญาของพวกเขาคือ “ให้นาฬิกาพูดด้วยตัวของมันเอง” แม้ผู้สวมใส่จะไม่เคยเห็นกลไกภายใน แต่สำหรับโรเล็กซ์ที่เจนีวา ช่างฝีมือในชุดขาวแบบห้องแล็บออกแบบตามหลักพลศาสตร์กันอย่างขมักเขม้น ทุกชิ้นส่วนต้องได้มาตรฐานในทุกมิติ มุมตัดจะต้องถูกขัดให้มนจนเป็นประกายเงางาม สิ่งเหล่านี้แทบจะไม่มีคุณค่าเลยเพราะลูกค้าไม่สามารถมองเห็นแต่ สำหรับโรเล็กซ์นี่คือมาตรฐานและคุณภาพ

โรเล็กซ์ผลิตเครื่องภายใน (Movement) ด้วยตัวเองซึ่งไม่เหมือนกับแบรนด์ดังอื่น ๆ ที่อาจใช้ของกันและกันได้ ที่โรเล็กซ์ช่างฝีมือกว่า200 คนรวมทั้งช่างเทคนิคจะต้องช่วยกันผลิตนาฬิกาแต่ละเรือนตามมาตรฐานเพื่อให้ได้ตราประทับของโรเล็กซ์ ” มัน(จำเป็นต้องมีคุณภาพ) มากกว่าที่คนทั่วไปต้องการมาก มันจึงเป็น Mercedes Benz ของนาฬิกาข้อมือ มันมากกว่าความเป็นวิศวกรรม และมันไม่ใช่เพื่อเงินแต่มันเป็นวิถีของโรเล็กซ์”

ก่อนส่งออกจากเจนีวา โรเล็กซ์ทุกเรือนจะต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพหลายครั้ง เช่น หน้าปัด ขอบหน้าปัด ปุ่มกดต่าง ๆ จะถูกตรวจซ้ำ ๆ เพื่อหารอยขีดข่วน การตรวจระยะห่างและแนวขนานต่าง ๆ ของกลไกและเข็มที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า การตรวจสอบระบบกันน้ำให้ได้อย่างน้อย 330 ฟุต หรือแม้แต่การปรับช่วงความคลาดเคลื่อนของเวลาที่จะมีขึ้น 2 วินาทีในทุก ๆ 100 ปี เหล่านี้คือมาตรฐานก่อนประทับตรา Rolex ซึ่งทำให้ในแต่ละปี จะผลิตเพียงประมาณ 650,000 เรือนเท่านั้น จำนวนนี้อาจดูเหมือนมาก แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่านี่ยังน้อยกว่าความต้องการของตลาดมากนัก แต่นั่นแหละคือสิ่งที่อังเดร ไฮนีเกอร์กล่าวไว้ “เราไม่ได้ต้องการที่จะใหญ่ที่สุด แต่หากเป็นหนึ่งในผู้ที่ “ดีที่สุด” ในอุตสาหกรรม”

ประวัตินาฬิกา Patek Philippe

กล่าวกันในแวดวงนาฬิกาว่า Rolex คือ Mercedez Benz ส่วน Patek Philippe นั้นคือ Rolls Royce แห่งวงการ
ซึ่ง ณ วันนี้หลายคนคงกล้าพูดได้อย่างเต็มปาก ถึงความเป็นสุดยอดแบรนด์ระดับโลกที่ Patek Philippe สามารถ
พัฒนาตนเองสู่ความเป็นผู้นำระดับแถวหน้าได้อย่างน่าภาคภูมิ  เป็นที่ยอมรับของบุคคลชั้นสูงทุกวงการ
นอกจากนี้ ยังเป็นเจ้าของสถิติการประมูลนาฬิกาที่น่าตื่นตาตื่นใจ อย่างเช่น นาฬิกาพกหายากเรือนหนึ่งสามารถ
เข้าไปบันทึกอยู่ใน Guiness Book ด้วยราคาประมูลถึง 11,002,500 USD

patek-philippe-3

ย้อนกลับไปถึงประวัติความเป็นมาของนาฬิกา Patek Philippe ซึ่งมีเรื่องราวให้กล่าวขานถึงมากมายถึงความสำเร็จ
ที่มีประวัติอันยาวนานและยังเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะแค่กลุ่มคนรักนาฬิกาเท่านั้น  โดยบริษัทแห่งนี้ก่อตั้ง
ขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1839 โดย อังตวน นอร์เบิร์ต เดอ ปาเต็ก (Antoine Norbert de Patek)  กับช่างทำนาฬิกามากความสามารถ ฟรองซัวส์ ซีซาเป็ค (Francois Czapek) ก่อตั้งบริษัท ปาเต็ก, ซีซาเป็ค แอนด์ ซี. Patek,Czapek & Cie.

ในช่วงนั้น โดยมุ่งเน้นรังสรรค์และผลิตนาฬิกาคุณภาพสูงออกมาโดยมียอดการผลิตอยู่ที่ประมาณปีละ 200 เรือน หลังจากนั้นเพียง 6 ปี Czapek ได้ตัดสินใจแยกตัวออกไป และในปี ค.ศ. 1844 Patek จึงได้มีโอกาสพบกับช่างทำนาฬิกาอีกท่านหนึ่งนามว่า Jean-Adrien Philippe ซึ่งจากจุดเริ่มต้นของการพบกันระหว่างคนสองคนที่มีอุดมการณ์สอดคล้องกัน

สำหรับ Jean-Adrien Philippe นับว่าเป็นช่างนาฬิกาผู้มีพรสวรรค์ในการประดิษฐ์คิดค้นระบบต่างๆ ของกลไกในเครื่องนาฬิกา ได้สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมากให้กับบริษัทโดยคิดค้นระบบไขลานและตั้งเวลาของนาฬิกาโดยใช้เม็ดมะยมแทนกุญแจในแบบดั้งเดิม

Patek-Philippe-iwater

ในปี 1851 ชื่อเสียงของ Patek Philippe เริ่มขจรขจาย จากงาน The Great Exhibition ใน London ซึ่งในครั้งนั้นนาฬิกาที่ไม่ต้องใช้กุญแจไขลานเรือนแรกที่นำออกแสดง ได้รับความชื่นชมจาก Queen Victoria อย่างมาก จนเป็นหนึ่งในลูกค้าอันเหนียวแน่น ลูกค้าระดับบิ๊กเนมของ Patek Philippe ไม่เว้นแม้แต่นักวิทยาศาสตร์นามอุโฆษอย่าง ไอน์สไตน์ รวมถึง แมรี่ คูรี่ย์ อีกด้วย

ในปี 1929 บริษัท Patek Philippe ได้ถูกซื้อกิจการไปโดยครอบครัว Stern ซึ่งยังคงเป็นครอบครัวที่ดำเนินกิจการของ
แบรนด์เครื่องบอกเวลาชื่อดังระดับโลก   อย่าง Patek Philippe ตราบจนทุกวันนี้ และสิ่งที่ทำให้ Patek Philippe ยืนเป็น
อันดับหนึ่งได้อย่างมั่นคงก็คือ ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาซึ่งพิสูจน์ได้จากรางวัลต่าง ๆ และสิทธิบัตรมากมายกว่า 100 ปีที่ได้รับ  และการยืนหยัดในปรัชญาการทำงานทุกอย่างให้มีคุณภาพอย่างที่สุดโดยไม่หวั่นไหวไปตามกระแส  จึงทำให้สถานะของ Patek Philippe เป็นมรดกอันมีค่าจากรุ่นสู่รุ่น

Thong Patek ลาหยุดพักร้อน

ขออนุญาตคุณลูกค้าทุกท่าน ลาหยุดไปพักผ่อน 28 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2558 นะคะ แล้วชาร์ตแบตกลับมาปุ๊บจะกลับมาส่งของให้คุณลุกค้าเหมือนเดิมนะคะ ขอบพระคุณค่าา
.
ปล. ช่วง 28-1 ยังส่ง line มาสอบถามพุดคุยกันได้เหมือนเดิมค่าา