oo

ฮอยเออร์ (Heuer) เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของ เอดูอารค์ ฮอยเออร์ (Edouard Heuer) ผู้ก่อตั้งโรงงานผลิตนาฬิกาเล็ก ๆ ในปี คศ. 1860 ขึ้นใน เมือง แซงต์ อิมิเยร์ (St. Imier) เมืองเดียวกับโรงงานผลิต นาฬิกา Longines ในเวลาไม่นานนักบริษัทของเขาก็มีชื่อเสียงขึ้นในระดับสากลถึงความเป็นสปอร์ตอันทรงคุณค่า จากความลุ่มหลงในกีฬา และการคิดค้นใหม่ ๆ โดยเฉพาะในช่วงแรก ๆ ของฮอยเออร์นั้น เมื่อคนพูดถึงนาฬิกาจับเวลา นาฬิกาจับเวลาที่ฮอยเออร์ผลิตออกมานั้น มีตั้งแต่นาฬิกาจับเวลาขนาดใหญ่ไปจนถึงนาฬิกาข้อมือ และมีการพัฒนาคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นในปี 1911 ฮอยเออร์ได้เปิดตัวนาฬิกาจับเวลาแบบติดตั้งในรถยนต์ขึ้นเป็นเรือนแรก และหลังจากนั้น 5 ปี ก็สามารถผลิตนาฬิกาจับเวลาได้ละเอียดถึง 1/100 วินาทีเป็นรายแรก
ฮอยเออร์นั้นมีพรสวรรค์ในการผลิตนาฬิกาจับเวลาหรือโครโนกราฟอย่างแท้จริงแม้ว่าในตอนแรกเริ่มโรงงานของเขาเองไม่สามารถผลิตกลไกจับเวลาได้ เขาได้ใช้เครื่องจากผู้ผลิตชื่อดังต่าง ๆ เช่น ฮาห์น แลนเดรอน (Hahn Landeron) เลอมาเนีย (Lemania) รวมทั้ง วัลฌูส์ (Valjoux) มาปรับแต่งและประกอบเข้ากับตัวเรือน

102447779-TAG_Heuer.1910x1000

ปี 1966 ได้ร่วมมือกับ ไบรท์ลิ่ง(Breitling) ดูบัวส์-เดปราซ์ (Dubois-Deparz) และแฮมิลตัน-บิวเรน(Hamilton-Buren) พัฒนาเครื่อง Cal.11 โดยแฮมิลตัน-บิวเรนรับหน้าที่พัฒนากลไกออโตเมติกแบบพิเศษ ดูบัวส์ พัฒนาโมดูลระบบกลไกโครโนกราฟ ส่วนฮอยเออร์และไบรท์ลิ่งร่วมกันผลิตและพัฒนาชิ้นส่วนที่เหลือรวมทั้งออกแบบตัวเรือนและหน้าปัด ใช้เวลาประมาณ 3 ปี ทำให้โครโนกราฟรุ่นนี้มีจุดเด่นหลายอย่างที่แตกต่างจากเครื่องที่มีอยู่ในตลาดเวลานั้น เช่นปุ่มกดและเม็ดมะยมจะอยู่คนละฝั่งกัน โดยปุ่มกดจะอยู่ที่ตำแหน่ง 2 และ 4 นาฬิกา ส่วนมะยมจะอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา นอกจากนี้ยังสร้างระบบพลังงานสำรองเป็นแบบ ขึ้นลานอัตโนมัติโดยการให้ลูกเหวี่ยงแบบ ไมโครโรเตอร์(Microrotor) ฝังอยู่ด้านหลังเครื่องฝั่งหน้าปัด เมื่อมองจากด้านหน้าเครื่องจะเห็น เหมือนกับเป็นเครื่องไขลานปกติ และยังมีความหนาที่ลดลงด้วย

Edouard Heuer นั้นทุ่มเทในกับความแม่นยำและเที่ยงตรงด้วยจิตวิญญาณของคนรักกีฬา เมื่อเขาก่อตั้งโรงงานในปี 1860 ความมุ่งมั่นอย่างเดียวของเขาก็คือ ยกระดับการจับเวลาให้อยู่ในระดับสูง จากนั้นเป็นต้นมาฮอยเออร์ก็ได้ชื่อว่า เป็นAvant-garde หรือ นักคิดค้นแห่งศิลปะการจับเวลา ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคโนโลยีหรือวัสดุ รวมทั้งดีไซน์ที่จับใจ

ฮอยเออร์ได้รับสิทธิบัตรมากมายในการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งเป็นการยืนยันถึงอัจฉริยภาพของเขา
ฮอยเออร์เป็นผู้จับเวลาอย่างเป็นทางการของการแข่งแชมป์โลกสกี รถสูตร 1 (Formula 1)รวมทั้งกีฬาอื่น ๆ อันนำมาซึ่งแรงบันดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีการจับเวลาอีกด้วย

ปี 1999 Tag Heuer ได้เข้ารวมกลุ่มกับ LVMH (Louis Vuitton-Mot Hennessy)ซึ่งในกลุ่มนี้มีนาฬิกา Zenith, Ebel Chaumet, Benedom และ Fred รวมอยู่ด้วย ทำให้ปัจจุบัน Tag Heuer เป็นส่วนหนึ่งของผู้ผลิตนาฬิกาที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
« Back

Recommended Posts